วิธีดูแลรถหลังน้ำท่วมรถยนต์
วันนี้โตโยต้ากาญจนบุรีมีสาระดีๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลรถหลังน้ำท่วม เพื่อที่จะได้รู้กับวิธีการจัดการในแต่ละขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ประเมินสถานการ์ของตัวรถ ข้อบกพร่อง ร่องรอยหรือสิ่งที่จะต้องซ่อมแซม มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายต่อผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาความเสียหายทางยานพาหนะหรือ “รถ” ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วมขัง เป็นสาเหตุทำให้รถเสียหายและเกิดปัญหาการใช้งาน ดังนั้น เพื่อเป็นการแนวทางการดูแลรถหลังน้ำท่วม โตโยต้ากาญจนบุรีจึงมีขั้นตอนการดูแลรถอย่างถูกวิธีมาแนะนำกันค่ะ
วิธีดูแลรถ ตามระดับน้ำที่ท่วมตัวรถ
-
ระดับ 1 ความสูงของน้ำเข้าถึงพื้นรถหรือพรมภายในรถ
ส่วนที่ได้รับผลกระทบ
*ห้องเครื่องยนต์ (คลัชคอมแอร์/สายพานแอร์ /สายพานไดชาร์ท)
ㆍช่วงล่าง (ระบบเบรกทั้ง 4 ล้อ / ผ้าเบรก)
ㆍภายนอก ภายใน (ตัวถังภายนอก /พรมพื้นรถด้านใน)
- ระดับ 2 ความสูงของน้ำเข้าถึงเบาะนั่ง
ชิ้นส่วนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น
*ห้องเครื่องยนต์ กล่อง ECU /แบตเตอรี่/พัดลมระบายความร้อน /เครื่องยนต์ / น้ำมันเครื่อง /ระบบเกียร์ / น้ำมันเกียร์ / ขั้วสายไฟมอเตอร์ /พวงมาลัยไฟฟ้า EPS)
ㆍห้องโดยสาร (เบาะนั่งขับขี่และผู้โดยสาร /สวิตช์แผงประตู / มอเตอร์ / ชุดเซ็นทรัลล็อก)
*ห้องสัมภาระท้าย (พื้นวางของในห้องสัมภาระ /ล้ออะไหล่ / เครื่องมือประจำรถ)
ระดับนี้ความเสียหายทั้งในห้องเครื่องยนต์ ห้องโดยสาร และห้องสัมภาระท้ายยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก แต่ห้ามสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจ ON โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เครื่องยนต์มีไอกาสได้รับความเสียหาย หรือระบบไฟฟ้าลัดวงจร
- ระดับ 3 ความสูงของน้ำท่วมถึงคอนโซลหน้ารถ
- ระดับ 4 ความสูงของน้ำท่วมถึงหลังคา
ชิ้นส่วนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น
ㆍภายนอก (โคมไฟหน้า ไฟท้าย / ตัวถังสีภายนอก)
*ห้องเครื่องยนต์ (กรองอากาศ / ไดชาร์ท / ชุดหัวเทียน / มอเตอร์ปัดน้ำฝน /แผงคอนเดนเซอร์แอร์ / หม้อน้ำ)
ㆍของเหลวต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ (น้ำมันเครื่อง / น้ำมันเกียร์ / น้ำมันเบรก /น้ำมันพวงมาลัย / น้ำมันเชื้อเพลิงในถัง)
ㆍห้องโดยสาร [คอนโซลหน้า / วิทยุ / ระบบแอร์ / มาตรวัด / ตู้แอร์ / มอเตอร์พัดลมแอร์ /ช่องแอร์ / ระบบถุงลม / ระบบไฟส่องสว่างต่างๆ / ผ้าหลังคา / ม่านถุงลม / ซันรูฟ)
ในระดับที่3 และ 4 นี้จะทำให้รถเกิดความเสียหายทั้งคัน ตั้งแต่ตัวถังภายนอก ไปจนถึงของเหลวต่างๆในห้องเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร
ขั้นตอนการดูแลรถหลังน้ำท่วม
1. ตรวจเครื่องยนต์ เช็คว่าไม่มีอะไรติดในตัวเครื่อง จากนั้นใช้ไดร์เป่าผมเป่าเพื่อไล่ความชื้น หรือสเปรย์ไล่ความชื้นฉีดให้ทั่ว รวมถึงบริเวณใต้ท้องรถและล้อรถ
2.ฟีลเตอร์เครื่องปรับอากาศ ให้นำออกมาฆ่าเชื้อออกให้หมด เพื่อคุณภาพของอากาศที่จะหมุนเวียนในรถตอนเปิดแอร์
3.เปิดประตูรถทั้งหมดเพื่อไล่ความอับชื้น และถอดเบาะทั้งหมด นำพรมปูพื้นเอามามาซักทำความสะอาดให้เรียบร้อย เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นานจะเหม็นอับและอาจเกิดเชื้อราได้
4.น้ำมันเกียร์ น้ำมันเครื่อง ดูว่าดูว่ามีสีชาหรือเปล่า ถ้าใช่แสดงว่ามีน้ำเข้าไปป่นอยู่ด้วย ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายทิ้งเพราะสนิมอาจขึ้นได้
5. แผงหน้าปัดรถยนต์ ควรตากแดดแรงๆ เพื่อไล่ความชื้น
6. ลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลัง ควรนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่
7.เมื่อทุกอย่างแห้งสนิทก็ทยอยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกมาจากห้องเครื่องเข้าที่เดิมให้เรียบร้อย ยกเว้นหัวเทียน ในกรณีรถยนต์เครื่องยนต์เบนชินหรือหัวฉีด แต่ถ้าเป็นเครื่องดีเซลให้ใส่แบตเตอรี่ก่อนใส่ขั้วแบตเตอรี่ แล้วค่อยสตาร์ทเครื่อง
8.นำรถเข้าศูนย์ที่ได้มาตรฐาน ในกรณีที่รถยนต์จมน้ำท่วมสูงมากจนถึงหลังคารถเป็นระยะเวลานานหลายวัน หากไม่มั่นใจว่าจะ แก้ไขได้หรือไม่ แนะนำว่าให้นำรถเข้าศูนย์ที่ได้มาตรฐานตรวจสอบจะดีที่สุด
*หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ จะได้สาระความรู้เรื่องการดูแลรถหลังเกิดเหตุน้ำท่วม สามารถนำไปปรับใช้ได้
และขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากเหตูการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ ได้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ
คุณสามารถติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับรถได้แบบฟรีๆ ที่
Line@ Click > > @toyotakan1995
หากบทความนี้ดีมีประโยชน์ อย่าลืมกดปุ่มแชร์ด้านล่างให้เพื่อนๆของคุณกันนะคะ !