การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

01_0Q3A8135-Recovered การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน
มกราคม 21, 2017
Posted by: admin

การตรวจเช็คสภาพรถยนต์เบื้องต้น จะทำให้ทราบปัญหาแต่เนิ่นๆ
และแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีซึ่งทางโตโยต้า กาญจนบุรี
มีวิธีตรวจเช็คง่ายๆ มาฝากคุณได้อย่างลงตัว

สำหรับการตรวจสภาพรถยนต์เบื้องต้น มีหลายจุดที่เราสามารถทำการบำรุงรักษาด้วยตนเองได้ง่ายๆ หากมีความรู้ทางด้านกลไกเพียงเล็กน้อยและมีเครื่องมือพื้นฐานอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามในการซ่อมบำรุงรักษาชิ้นส่วนบางอย่างต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษและความชำนาญเฉพาะทาง

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือให้ช่างที่มีประสบการณ์เป็นผู้ตรวจซ่อมให้ การเข้าศูนย์บริการโตโยต้า กาญจนบุรีนั้นนอกจากจะได้ช่างที่มีประสบการณ์เป็นผู้ดูแลแล้ว จะมีการเก็บข้อมูลการซ่อมเอาไว้ ซึ่งจะเป็นประโยขน์ต่อการรับประกันและการตรวจซ่อมครั้งต่อไป และข้อแนะนำในการตรวจเช็คเบื้องต้นมีดังนี้

 

02_0Q3A8042 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

9 วิธีง่ายๆ ที่คุณก็สามารถตรวจเช็ครถยนต์เองได้

1. การตรวจเช็คแรงดันลมยาง

ควรตรวจเช็คทุกๆ 2 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง รวมถึงยางอะไหล่ เพราะแรงดันยางที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ไม่สะดวกสบายในการขับขี่ อายุการใช้งานสั้นลง และไม่ปลอดภัยอีกด้วย
1.1 ตรวจเช็คแรงดันขณะที่ยางยังเย็นเท่านั้น (จอดแล้วอย่างน้อย 3 ชม. หรือขับไม่เกิน 1.5 กม.) เพราะจะทำให้การตรวจเช็คแม่นยำมากยิ่งขึ้น
1.2 ใช้เกจวัดแรงดันลมยางทุกครั้ง เพราะการใช้สายตาหรือการสัมผัสภายนอกมีความผิดพลาดได้ง่าย แรงดันลมยางที่ผิดค่ากำหนด 2-3 ปอนด์ มีผลต่อการขับขี่และการควบคุมรถได้
1.3 ไม่ปล่อยแรงดันลมยางหลังการขับขี่ เนื่องจากแรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้นจากความร้อนหลังการขับขี่
1.4 ปิดฝาปิดวาล์วเติมลมยางทุกครั้ง ถ้าไม่มีฝาปิด สิ่งผิดปกติหรือความชื้นจะเข้าไปภายในแกนวาล์วและทำให้ลมรั่วได้

 

 

03_0Q3A8040-1 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

2. การตรวจเช็คสภาพยางว่ายังมีสภาพดีหรือไม่

ให้สังเกตจาก “ตัวบ่งชี้ดอกยางสึก” โดยจะมีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมาย “ c1 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน ” อยู่ด้านข้างดอกยางแต่ละเส้นเพื่อบอกแนวตำแหน่ง “ตัวบ่งชี้ดอกยางสึก” จะช่วยให้เราทราบว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนยาง เมื่อดอกยางสึกเหลือเพียง 6.6 มม. หรือน้อยกว่า จะปรากฎตัวบ่งชี้ให้เห็น หากสังเกตเห็นรอยดังกล่าว 2 แนว หรือมากกว่า ควรเปลี่ยนยางใหม่ ยิ่งดอกตื้นมากเท่าไร ความเสี่ยงต่อการลื่นไถลก็มากขึ้นเท่านั้น ถ้ายางเสียหาย เช่น ฉีกขาด แยก แตกเป็นรอยลึกพอที่จะทำให้ยางแตกได้ หรือเป็นรอยนูนอันเนื่องมาจากความเสียหายภายใน ควรเปลี่ยนยางใหม่ ถ้ายางแบนบ่อยๆ ควรปรึกษาศูนย์บริการโตโยต้า กาญจนบุรี และถ้ายางมีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปี ต้องให้ช่างผู้ชำนาญการตรวจเช็คแม้ไม่เกิดรอยเสียหายก็ตาม เพราะยางจะเสื่อมสภาพไปตามเวลาแม้ไม่ได้ใช้งาน สำหรับยางอะไหล่ก็เช่นกัน

3. การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง มีขั้นตอนการตรวจเช็คดังนี้

3.1 อุ่นเครื่องยนต์พอให้อุณหภูมิทำงาน
3.2 จอดรถบนพื้นราบ
3.3 ดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้ 5 นาที (ให้น้ำมันไหลกลับอ่างน้ำมันเครื่อง)
3.4 ดึงก้านวัดออกแล้วเช็ดให้สะอาด
3.5 เสียบก้านวัดกลับเข้าไปใหม่ให้ลึกสุด
3.6 ดึงก้านวัดออกตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง (ควรอยู่ระหว่างระดับต่ำสุดกับระดับเต็ม) หากพบว่าระดับน้ำมันต่ำกว่า หรือเหนือกว่าระดับต่ำสุดเล็กน้อย ให้เติมน้ำมันเครื่องชนิดเดียวกันลงไป

 

06_0Q3A8144 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

4. ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็น

ควรดูระดับน้ำหล่อเย็นในถังพักขณะที่เครื่องยนต์เย็น ควรอยู่ระหว่าง “Full” กับ “Low” หรือต่ำกว่าให้ใช้น้ำยาชนิดเดียวกันเติมจนถึงระดับ “Full” ถ้าระดับลดลงเร็วผิดปกติ แสดงว่าเกิดการรั่วของระบบ ให้ตรวจดูหม้อน้ำ ท่อยาง ฝาปิด และปั๊มน้ำ ถ้าไม่พบควรนำรถเข้าศูนย์บริการโตโยต้า กาญจนบุรีเพื่อตรวจสอบ

 

04_0Q3A8094 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

5. การตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรกให้อยู่ในระดับปกติ

ดูระดับกระปุกที่น้ำมันเบรกมีเส้นบอกระดับ “MAX” และ “MIN” ระดับน้ำมันเบรกควรอยู่ที่ “MAX” อยู่เสมอ สาเหตุที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรกลดลง 2 ข้อ คือ
– มีการรั่วออกจากระบบ ระดับน้ำมันลดลงเร็วผิดปกติ ควรนำเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คสาเหตุ
– การสึกหรอของผ้าเบรก ระดับน้ำมันเบรกจะลดน้อยลงและช้าในกรณีที่จำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรก ควรเป็นน้ำมันเบรกชนิดเดียวกัน

 

07_0Q3A8121 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

6. การตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่

ให้ตรวจขั้วของแบตเตอรี่ โดยจะต้องไม่มีขี้เกลือ (หากมีขี้เกลือให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนและใช้จารบีทาเคลือบ) ต้องไม่ผุกร่อน หลวม แตกร้าว หรือแคล้มป์รัดหลุดหลวม สภาพด้านนอกไม่บวมหรือมีรอยรั่วซึม เช็คระดับน้ำแบตเตอรี่ (น้ำกรด) ต้องอยู่ระหว่าง “UPPER” กับ “LOWER” ถ้าพบว่าระดับต่ำกว่าให้เติมน้ำกลั่นลงไป (หรือรุ่นที่มีตัวชี้บอกสภาพแบตเตอรี่ “ตาแมว” ให้ดูลักษณะเปรียบเทียบตามสติกเกอร์แนะนำ)

 

7. การตรวจน้ำฉีดล้างกระจก ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ

ดูระดับจากช่องบอกตำแหน่งหรือบางรุ่นที่มีก้านวัด เราอาจใช้น้ำมันสะอาดธรรมดาเติมแทนน้ำยาล้างกระจกได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้น้ำในถังน้ำล้างกระจกแห้ง เพราะถังน้ำอาจเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ไม่ควรใช้น้ำที่มีตะกอนเติม เพราะหัวฉีดน้ำล้างกระจกอาจอุดตันได้ ไม่ควรใช้สารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากคู่มือระบุไว้เติมลงในถังเพราะอาจทำความเสียหายแก่สีรถได้

 

 

08_0Q3A8090 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน

8. กรองอากาศเครื่องยนต์และกรองอากาศปรับอากาศ

(วิธีการถอดในรถแต่ละรุ่นจะแสดงรายละเอียดไว้ประจำรถ) ให้ดูสภาพผิวด้านนอกด้านที่รับอากาศเข้า หากความสกปรกฝังแน่นไม่สามารถเป่าออกได้ด้วยลมควรเปลี่ยนใหม่ (หากใช้รถยนต์บริเวณที่มีการจราจรติดขัดหรือมีฝุ่นมาก อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนกรองอากาศเร็วกว่าที่กำหนด)

9. การตรวจเช็คและเปลี่ยนฟิวส์ตามความจำเป็น

ฟิวส์คืออุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ตัดไฟเมื่อเกิดลัดวงจรและการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า ถ้ามีระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างไม่ทำงาน อาจมีสาเหตุมาจากฟิวส์ได้ ตำแหน่ง ชนิด ขนาด และคำแนะสำหรับการปฏิบัติจะบอกไว้ในคู่มือประจำรถ ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ แต่ไม่สามารถหาฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์ที่เท่ากันได้ ให้ใช้ฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์ต่ำกว่า แต่ควรให้ใกล้เคียงมากที่สุด (ถ้าฟิวส์มีขนาดต่ำกว่าที่กำหนดฟิวส์อาจขาดได้อีก ซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติ) แต่ควรหาฟิวส์ที่มีขนาดเท่ากันโดยเร็วที่สุด ทางที่ดีควรตรวจเช็คฟิวส์สำรองติดประจำรถให้ครบเสมอ ถ้าฟิวส์ที่ใส่เข้าไปใหม่ขาดทันทีแสดงว่าระบบมีปัญหา ควรติดต่อศูนย์บริการ อย่าใช้ฟิวส์ที่มีขนาดแอมแปร์สูงกว่าที่กำหนดหรือวัตถุอื่นแทนฟิวส์ เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายลุกลามมากยิ่งขึ้นและอาจเกิดไฟลุกไหม้ได้

 

 

09_0Q3A8222 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน
หากลูกค้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจเช็คสภาพรถยนต์
ทางศูนย์โตโยต้า กาญจนบุรี ยินดีให้คำแนะนำ
โดยสามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 034-540-789

คุณสามารถติดตามข่าวสารดีๆเกี่ยวกับรถได้แบบฟรีๆ ที่
Line@ Click > > line-logo-1x1 การตรวจสภาพรถยนต์ เบื้องต้นง่ายๆ..ได้ที่บ้าน @toyotakan1995 

หากบทความนี้ดีมีประโยชน์ อย่าลืมกดปุ่มแชร์ด้านล่างให้เพื่อนๆของคุณกันนะคะ !

เรื่องรอบรู้เรื่องรถ : มาใหม่